กินปลาดิบอย่างไรให้ปลอดภัย ห่างไกลจากพยาธิ ถ้าหากคุณเป็นคนที่ชอบการกินปลาดิบเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักวิธีการกิน ที่ถูกหลักอนามัย เพื่อป้องกันพยาธิ หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจจะเข้าสู่ร่างกาย จากการกินปลาได้ วันนี้เราได้รวบรวมหลักการกินที่ถูกต้อง มาให้คุณได้รู้จัก ดังนี้ค่ะ
กินปลาดิบอย่างไรให้ปลอดภัย
เรารู้อยู่แล้วว่าการกินอาหาร ที่ถูกหลักอนามัย จะต้องปรุงให้สุก ก่อนรับประทานเสมอ ทั้งนี้ก็ป้องกันเชื้อโรค และพยาธิที่อาจจะเข้าสู่ร่างกายได้ แต่สำหรับอาหารบางชนิด ที่ต้องรับประทานสด เพื่อความอร่อยอย่าง แซลมอน หรือซาชิมิ ก็อาจจะเสี่ยงต่อพยาธิได้ แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะวันนี้เราจะมาแชร์ วิธีการกินปลาดิบอย่างไรให้ปลอดภัย ไปดูกันเลย
วิธีกินปลาดิบให้ปลอดภัย

1. เลือกเนื้อปลาที่มีการระบุว่าใช้ สำหรับการทำปลาดิบจริง ๆ
ถึงแม้ว่าราคาจะแพงไปเสียหน่อย แต่ก็คุ้มค่านะคะ ถ้าหากเป็นปลาที่สะอาด และปลอดภัยจริง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ปลาที่นำมาทำปลาดิบโดยเฉพาะ จะถูกแล่และวางขายในซูเปอร์มาร์เกตใหญ่ ๆ ดังนั้น อย่าไปซื้อปลาที่อยู่ตามตลาดทั่วไป มาทำปลาดิบเลยนะคะ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับพยาธิ เป็นอันตรายต่อร่างกาย
2. เลือกกินปลาดิบที่ทำสะอาด
ถ้าหากไม่ถนัดแล่เนื้อปลาเอง และกลัวพยาธิละก็ ก็อย่าไปรับประทานสุ่มสี่สุ่มห้านะคะ เลือกร้านที่ทำสะอาดหน่อยก็แล้วกัน และสังเกตด้วยว่าพ่อครัว ใส่ถุงมือทุกครั้งที่หยิบเนื้อปลา หรือไม่ เพราะนอกจากเราจะปลอดภัยจากพยาธิแล้ว ก็ยังปลอดภัยจากเชื้อโรคอื่น ๆ ที่จะมาจากการทำที่ไม่สะอาด และถูกสุขลักษณะได้ด้วยค่ะ

3. ควรเลือกรับประทานแต่ปลาทะเล
สาเหตุที่ควรเลือกปลาทะเลมากกว่าปลาน้ำจืด นั่นก็เพราะว่าปลาทะเลนั้นพบพยาธิได้น้อยกว่า แต่ในปลาน้ำจืดนั้นมีพยาธิมากกว่า และยังมีหลายชนิดมากกว่า ส่วนความร้ายกาจของเจ้าพยาธิในปลาทะเล ก็ยังมีน้อยกว่าปลาน้ำจืดอีกด้วย
4. เลือกรับประทานปลาดิบที่ปรุงเสร็จใหม่ ๆ
ถึงแม้ว่าปลาดิบ จะถูกจัดลงจานอย่างสวยงาม จนเราเองก็อยากจะชื่นชม กับมันนาน ๆ ก่อนที่จะรับประทาน แต่ก็ควรจะรีบกินนะคะ ไม่ควรกินปลาดิบที่ทำทิ้งไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้เสียรสชาติ เนื่องจากน้ำมันที่อยู่ในปลา จะระเหยออกไป แถมคุณค่าทางอาหารยังลดลงอีกด้วย และความจะหลีกเลี่ยง การรับประทานปลาดิบ ที่ทำสำเร็จแล้ว ตั้งโชว์ไว้ในตู้แช่ด้วยนะคะ เพราะเราไม่รู้ว่ามันถูกเอามาวาง นานขนาดไหนแล้วเนอะ

5. เลือกปลาดิบที่ผ่านการแช่แข็งอย่างถูกวิธี
ข้อนี้อาจจะทำได้ยากไปหน่อย สำหรับผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ที่ไม่รู้หรอกว่าพ่อครัว เขาแช่แข็งปลา มาอย่างถูกวิธีหรือเปล่า ก็ถือว่าฝากพ่อครัวปลาดิบทั้งหลาย ไว้หน่อยแล้วกันค่ะ โดยควรแช่แข็งปลา หรือดองน้ำแข็ง ในอุณหภูมิต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน หรือแช่ในอุณหภูมิต่ำกว่า -35 องศาเซลเซียส ติดต่อกันอย่างต่ำ 15 ชั่วโมง เพื่อให้ปลามีลักษณะใกล้เคียง กับตอนที่จับขึ้นมาใหม่ ๆ มากที่สุด และวิธีนี้ก็จะทำให้พยาธิอะนิซาคิสตายได้ด้วย
อันตรายจากการกินปลาดิบ
อันตรายจากการกินปลาดิบ ก็คือพยาธิอะนิสซาคิส ซึ่งพยาธิเหล่านี้ จะอยู่ภายในช่องท้องของปลาทะเล โดยพยาธิชนิดนี้จะใช้หนามขนาดเล็ก และใช้ปลายแหลมในการไชผ่านเนื้อเยื้อต่าง ๆ พยาธิอะนิซาคิสในขณะที่เป็นตัวอ่อน สามารถติดต่อสู่มนุษย์ ปากของพยาธิชนิดนี้จะมีหนามขนาดเล็ก และปลายหางแหลม ในขณะที่มีการคลื่นที่ ไชในกระเพาะอาหาร และลำไส้ของคน จะทำให้เกิดแผลขนาดเล็ก จนส่งผลทำให้เกิดเลือดออก ในกระเพาะอาหารได้ จึงทำให้ผู้ที่มีพยาธิชนิดนี้ อยู่ในกระเพาะอาหารมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้
แม้ว่าหลักการเหล่านี้จะช่วยให้คุณ รับประทานปลาดิบได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสได้รับเชื้อเลย เพราะบางครั้งตัวอ่อนของพยาธิ ก็อาจจะแฝงอยู่ในตัวปลา ที่ยากกำจัดได้ หากรู้ตัวว่ามีความเสี่ยงได้รับเชื้อ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน